รู้หรือไม่? การพูดในที่สาธารณะ(Public Speaking) เป็นสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่บอกว่าน่าหวาดกลัว นอกจากการขึ้นไปพูดบนเวทีต่อหน้าผู้ชมมากหน้าหลายตาแล้ว ก็ยังมีอีกหลายคนที่มองว่า การเริ่มบทสนทนาตัวต่อตัวกับใครสักคนเป็นเรื่องที่ยากพอๆ กัน
ไม่ว่าคุณจะอยากคุยกับ CEO ของบริษัท เพื่อนร่วมงานคนใหม่ พนักงานหนุ่มหน้าตาดี พนักงานสาวฝ่ายไอที หรือแม้แต่คนแปลกหน้าที่เจอบนท้องถนน ทางเรามีวิธีในการเริ่มต้นบทสนทนามาแนะนำ และถ้าคุณฝึกทำไปเรื่อยๆ แน่นอนว่ามันก็จะกลายเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น
ลองใช้วิธีเหล่านี้ในการเริ่มพูดคุยกับผู้คนดูสิ:
ไม่คุยเรื่องสัพเพเหระ
“ทำไมวันนี้อากาศไม่ดีเลย?” หรือ “ทีม…(ชื่อทีมฟุตบอล)… เป็นไงบ้าง?” เป็นประโยคเริ่มต้นบทสนทนาที่ห่วยพอๆ กับคำพูดจีบสาวที่ทั้งเชยและเสี่ยว พยายามหลีกเลี่ยงหัวข้อที่ซ้ำซากน่าเบื่อหน่าย เพราะทุกๆ สถานการณ์มีความแตกต่างกันไป คุณจึงควรหาเรื่องคุยที่ไม่ซ้ำซากด้วยเช่นกัน
“ทำไมวันนี้อากาศไม่ดีเลย?” หรือ “ทีม…(ชื่อทีมฟุตบอล)… เป็นไงบ้าง?” เป็นประโยคเริ่มต้นบทสนทนาที่ห่วยพอๆ กับคำพูดจีบสาวที่ทั้งเชยและเสี่ยว พยายามหลีกเลี่ยงหัวข้อที่ซ้ำซากน่าเบื่อหน่าย เพราะทุกๆ สถานการณ์มีความแตกต่างกันไป คุณจึงควรหาเรื่องคุยที่ไม่ซ้ำซากด้วยเช่นกัน
ถามความคิดเห็นของคู่สนทนา
ทุกคนย่อมมีความคิดเห็นของตัวเอง ถ้าคุณคุยกับคนที่รู้จักแบบผิวเผิน อาจจะเริ่มด้วยหัวข้อง่ายๆ เช่น อาหาร ดนตรี หรือบรรยากาศ ฯลฯ “คุณชอบดื่มกาแฟประเภทไหน?” “คุณชอบดูหนังสยองขวัญรึเปล่า?” หรือ “คุณชอบเพลงนี้ไหม?” นอกจากนี้ จะเป็นการดีกว่าหากเลี่ยงหัวข้อฮอตฮิตอย่างการเมืองไปก่อน เว้นแต่ว่าคุณจะรู้จักคู่สนทนาดีพอแล้ว
ทุกคนย่อมมีความคิดเห็นของตัวเอง ถ้าคุณคุยกับคนที่รู้จักแบบผิวเผิน อาจจะเริ่มด้วยหัวข้อง่ายๆ เช่น อาหาร ดนตรี หรือบรรยากาศ ฯลฯ “คุณชอบดื่มกาแฟประเภทไหน?” “คุณชอบดูหนังสยองขวัญรึเปล่า?” หรือ “คุณชอบเพลงนี้ไหม?” นอกจากนี้ จะเป็นการดีกว่าหากเลี่ยงหัวข้อฮอตฮิตอย่างการเมืองไปก่อน เว้นแต่ว่าคุณจะรู้จักคู่สนทนาดีพอแล้ว
ขอคำแนะนำ
วิธีนี้ใช้ได้ผลดีมากๆ อย่างเวลาจะพูดคุยกันเกี่ยวกับเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับของอีกฝ่าย เช่น “ไทด์ของคุณสวยจังเลย ซื้อที่ไหนมาเหรอ?” หรือเรื่องอาหาร เช่น “คุณกินอะไรอยู่? ดูน่ากินมากเลย” เป็นต้น มีงานวิจัยจากจิตวิทยางานหนึ่งได้กล่าวว่า “หากคุณต้องการความเชื่อใจจากใคร ให้คุณขอความช่วยเหลือจากคนๆ นั้น”
วิธีนี้ใช้ได้ผลดีมากๆ อย่างเวลาจะพูดคุยกันเกี่ยวกับเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับของอีกฝ่าย เช่น “ไทด์ของคุณสวยจังเลย ซื้อที่ไหนมาเหรอ?” หรือเรื่องอาหาร เช่น “คุณกินอะไรอยู่? ดูน่ากินมากเลย” เป็นต้น มีงานวิจัยจากจิตวิทยางานหนึ่งได้กล่าวว่า “หากคุณต้องการความเชื่อใจจากใคร ให้คุณขอความช่วยเหลือจากคนๆ นั้น”
ถามคำถามที่ตอบง่าย
เป็นวิธีที่ดีมากถ้าหากคุณรู้ว่าคู่สนทนาของคุณเก่งในเรื่องใด แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการเริ่มต้นด้วยการถามในเรื่องที่ซับซ้อนหรือยากมากๆ เพราะคู่สนทนาของคุณอาจจะรู้สึกเหมือนถูกสั่งอยู่ก็ได้ แต่ไม่เป็นไรในกรณีที่บทสนทนาเป็นตัวนำพาไป
เป็นวิธีที่ดีมากถ้าหากคุณรู้ว่าคู่สนทนาของคุณเก่งในเรื่องใด แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการเริ่มต้นด้วยการถามในเรื่องที่ซับซ้อนหรือยากมากๆ เพราะคู่สนทนาของคุณอาจจะรู้สึกเหมือนถูกสั่งอยู่ก็ได้ แต่ไม่เป็นไรในกรณีที่บทสนทนาเป็นตัวนำพาไป
พูดถึงสิ่งที่อยู่รอบตัว
ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็จะมีสิ่งต่างๆ ให้นำมาพูดคุยกันได้เสมอ เช่น ดนตรีที่เปิดอยู่ อาหาร แสงไฟ และอีกมากมาย แม้กระทั่งเวลาที่อยู่ในลิฟต์กับใครสักคน คุณก็สามารถดึงเรื่องดนตรี ความเร็วของลิฟท์ หรือความแออัดในลิฟต์มาพูดคุยกันได้เสมอ
ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็จะมีสิ่งต่างๆ ให้นำมาพูดคุยกันได้เสมอ เช่น ดนตรีที่เปิดอยู่ อาหาร แสงไฟ และอีกมากมาย แม้กระทั่งเวลาที่อยู่ในลิฟต์กับใครสักคน คุณก็สามารถดึงเรื่องดนตรี ความเร็วของลิฟท์ หรือความแออัดในลิฟต์มาพูดคุยกันได้เสมอ
ถามเรื่องความคืบหน้า
ถ้าคุณแทบไม่รู้จักคู่สนทนาของคุณ หรือรู้จักห่างๆ แต่ไม่เคยคุยกันเลย ลองถามเกี่ยวความคืบหน้าของสิ่งที่เขากำลังทำอยู่ก็ได้ เช่นว่า “ได้ยินว่าเธอเข้าคอร์สเรียนเต้นมา เป็นยังไงบ้างล่ะ?”
ถ้าคุณแทบไม่รู้จักคู่สนทนาของคุณ หรือรู้จักห่างๆ แต่ไม่เคยคุยกันเลย ลองถามเกี่ยวความคืบหน้าของสิ่งที่เขากำลังทำอยู่ก็ได้ เช่นว่า “ได้ยินว่าเธอเข้าคอร์สเรียนเต้นมา เป็นยังไงบ้างล่ะ?”
ถ้าเป็นไปได้ ควรถามคำถามแบบปลายเปิด
ไม่ต้องแปลกใจหากได้รับคำตอบสั้นๆ แค่ใช่หรือไม่ใช่จากคู่สนทนา เพราะคำถามที่คุณถามอาจกำหนดให้ตอบได้เพียงแค่นั้น การเตรียมคำถามเพื่อต่อบทสนทนาไว้จะช่วยให้บทสนทนาลื่นไหลได้
ไม่ต้องแปลกใจหากได้รับคำตอบสั้นๆ แค่ใช่หรือไม่ใช่จากคู่สนทนา เพราะคำถามที่คุณถามอาจกำหนดให้ตอบได้เพียงแค่นั้น การเตรียมคำถามเพื่อต่อบทสนทนาไว้จะช่วยให้บทสนทนาลื่นไหลได้
ถ้าคุณถามคู่สนทนาว่า กำลังกินอะไรอยู่ อาจจะถามต่อได้ว่า “คุณรู้ไหมว่าอาหารจานนี้กินกับไวน์อะไรจะเข้ากันที่สุด?” การถามว่า “ทำไม” เป็นคำถามที่สามารถต่อบทสนทนาได้เป็นอย่างดี (แค่อย่าถามบ่อยเกินไป ไม่งั้นคุณอาจจะดูเหมือนเด็กไม่รู้จักโต)
ถามคำถามเชิงสมมุติ
คำถามทำนองนี้เป็นการเริ่มบทสนทนาที่ดีทีเดียว ถ้าคุณโยงให้เข้ามาสู่เรื่องใกล้ตัวหรือเรื่องในปัจจุบันได้เพื่อไม่ให้ฟังดู Random จนเกินไปอย่างเช่น “เราเพิ่งดูหนังเกี่ยวกับที่เขายกเลิกกฏหมายมาด้วยแหละ แล้วถ้าเป็นเธอ เธอจะทำยังไง ถ้าเกิดไม่มีกฏหมายข้อนี้ขึ้นมา?”
คำถามทำนองนี้เป็นการเริ่มบทสนทนาที่ดีทีเดียว ถ้าคุณโยงให้เข้ามาสู่เรื่องใกล้ตัวหรือเรื่องในปัจจุบันได้เพื่อไม่ให้ฟังดู Random จนเกินไปอย่างเช่น “เราเพิ่งดูหนังเกี่ยวกับที่เขายกเลิกกฏหมายมาด้วยแหละ แล้วถ้าเป็นเธอ เธอจะทำยังไง ถ้าเกิดไม่มีกฏหมายข้อนี้ขึ้นมา?”
ถามเรื่องลูกๆ สัตว์เลี้ยง หรืองานอดิเรก
คนทั่วไปมักจะชอบพูดเรื่องที่เกิดความสำคัญกับตัวเอง ถ้าคุณรู้ว่าเจ้านายมีงานอดิเรกคือการปีนเขา ลองถามเกี่ยวกับทริปล่าสุดที่เจ้านายไปดูสิ จะเป็นการเริ่มบทสนทนาที่ดีสำหรับเขาทีเดียวล่ะ
คนทั่วไปมักจะชอบพูดเรื่องที่เกิดความสำคัญกับตัวเอง ถ้าคุณรู้ว่าเจ้านายมีงานอดิเรกคือการปีนเขา ลองถามเกี่ยวกับทริปล่าสุดที่เจ้านายไปดูสิ จะเป็นการเริ่มบทสนทนาที่ดีสำหรับเขาทีเดียวล่ะ
หากคุณมีวิธีเริ่มบทสนทนาส่วนตัวที่อยากแนะนำ ก็ลองคอมเมนต์มาแบ่งปันกันได้เลยครับ
Source : Business Insider
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น