เวลาคนเราได้ยินคำว่า วิตกกังวล มักจะนึกถึงเรื่องจำพวก การขึ้นแสดงบนเวที การกล่าวสุนทรพจน์ การยิงจุดโทษ หรือแม้แต่เรื่องการมีเซ็กซ์ ความรู้สึกวิตกกังวล มันสามารถส่งผลเสียกับงานนั้น ๆ ที่คุณทำอยู่ได้ ยกตัวอย่างเช่น การขึ้นไปพูดบนเวที ที่มีสายตานับร้อยจ้องมองมาที่คุณ ทั้ง ๆ ที่คุณเตรียมบทพูดมาอย่างดีแล้ว แต่พอคุณก้าวขึ้นไปบนเวทีคุณกลับรู้สึกวิตกกังวล ถึงมันจะเป็นความรู้สึกเพียงไม่กี่วินาที แต่มันก็สามารถทำให้คุณเสียสมาธิไปกับการพูดได้
ทุกคนในโลกล้วนต้องเคยรู้สึกวิตกกังวลกันทั้งนั้น บางคนปล่อยให้ความวิตกกังวลกลืนกินจนส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต สุขภาพร่างกาย ชีวิตการงาน เพื่อนฝูง และครอบครัว แต่ก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่รู้วิธีรับมือกับความวิตกกังวลอย่างชาญฉลาด แล้วคนกลุ่มนี้เขามีเทคนิคอย่างไรรึ? หากคุณรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนวิตกกังวลเกินไป 5 แนวคิดต่อไปนี้จะช่วยให้คุณจัดการกับความวิตกกังวลอย่างได้ผล
1. อย่าผูกคุณค่าของคุณไว้กับผลลัพท์
ถ้าหากคุณเป็นคนที่มักจะตีคุณค่าของตัวเองจากผลลัพท์ของสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ ให้เลิกซะเถอะ เพราะคุณมีคุณค่ากว่านั้นมาก
2. กล้าเผชิญหน้ากับความรู้สึก
รู้สึกกลัว รู้สึกน่าสมเพช รู้สึกอาย ล้วนแล้วแต่เป็นความรู้สึกที่ใคร ๆ ก็ต้องเคย กล้าเผชิญหน้ากับความรู้สึกเหล่านี้สิ และจงเชื่อว่า ต่อให้คุณรู้สึกกลัว รู้สึกน่าสมเพช หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่คุณก็ยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเดิม
เพียงกล้าเปิดใจยอมรับความรู้สึกแย่ ๆ เหล่านี้ เพราะยิ่งคุณต่อต้านความรู้สึกของตัวเองเท่าไหร่ มันยิ่งทำให้คุณรู้สึกวิตกกังวล
3. เชื่อในศักยภาพของตนเอง
อย่าด่วนตัดสินใจหลีกเลี่ยงงานหรือสถานการณ์ที่คุณมักรู้สึกว่า มันไม่เหมาะกับคุณ หรือ คุณไม่สามารถทำมันได้หรอก เพราะการกลัวสื่งที่ไม่รู้ มันจะทำให้คุณไม่รู้ไปตลอด
จงเชื่อในศักยภาพของตัวเอง แล้วให้ลองคิดว่า ดีเสียอีกที่จะได้เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และได้รับประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น
4. การจัดลำดับความสำคัญ
หลายคนตัดสินใจเลือกทำงานที่ชอบและง่ายก่อนเป็นอันดับต้น ๆ แล้วเก็บงานที่ไม่ชอบไว้ทำตอนท้าย ๆ คุณจะตกอยู่ในวงโคจรของสิ่งที่ไม่ชอบต่อไปเรื่อย ๆ และก่อนิสัยผลัดวันประกันพรุ่งให้กับตัวเอง
ลองเปลี่ยนมาเป็น เริ่มทำงานชิ้นที่คุณไม่ชอบก่อนในตอนเช้าของวัน เพราะช่วงเช้าเป็นช่วงที่คุณยังกำลังสดชื่น และมีพลัง สมองทำงานได้อย่างเต็มที่ ทั้งยังช่วยให้คุณไม่ต้องรู้สึกหนื่อยหน่ายกับงานยาก ๆ ที่กองตั้งไว้ตลอดทั้งวัน
5. จงมีสัจจะ และความรับผิดชอบ
สองสิ่งนี้สำคัญมากสำหรับการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับคนอื่น และการทำงานเป็นทีม หากคุณขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป ความเชื่อมั่นในตัวคุณ ทั้งจากผู้อื่นและจากตัวเองก็จะลดน้อยลง จนในที่สุดคุณก็จะกลายเป็นจุดอ่อนของทีม จงเป็นคนรักษาคำพูดและรับผิดชอบในหน้าที่การงาน
Source : Inc
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น