10 กุมภาพันธ์ 2560

3 หนทางสู่การค้นพบ “เป้าหมายอันแท้จริงของตัวเอง”


คนเราจะสร้างชีวิตที่ใช่ ในแบบที่ชอบได้อย่างไร?

กระบวนการคิดเชิงออกแบบ(Design Thinking) คืออะไร?

ในเดือนมกราคม ปี 2016 หนังสือพิมพ์ New York Times ได้พูดถึงผลงานของ Bernard Roth อาจารย์มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดที่ค้นพบว่า กระบวนการคิดเชิงออกแบบ(Design Thinking) ได้ช่วยให้เหล่าผู้คนนับล้านได้หลุดพ้นจากสภาวะวิกฤตทั้งเรื่องการงานและการใช้ชีวิต นอกจากนี้ในหนังสือ The Achievement Habitหรือ หนังสือที่ว่าด้วยลักษณะนิสัยของผู้ประสบความสำเร็จ ยังได้พูดถึงเรื่องของข้ออ้างต่างๆ ที่ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านจำนวนมาก
หลายๆ คนคงเบื่อที่ต้องคิดคำตอบที่ดูดี น่าฟัง เพื่อตอบคำถามอย่างเช่น คุณต้องการอะไรในฃีวิต หรือคุณอยากจะทำอะไร เพราะบางครั้งต่อให้เราคิดให้ตายยังไง เราก็อาจยังไม่เจอคำตอบที่แท้จริง นี่เป็นเพราะเราไม่รู้หนทางที่จะช่วยให้เราค้นพบคำตอบของคำถามเหล่านี้ยังไงล่ะ
กระบวนการคิดเชิงออกแบบจะทำให้เราค้นพบคำตอบที่แท้จริงได้มากกว่าการที่เรามัวแต่นั่งคิด และเครียดกับชีวิตอันแสนยุ่งยากวุ่นวาย และนี่ก็คือ 3 กระบวนการคิดเชิงออกแบบที่นำไปสู่การค้นพบเป้าหมายอันแท้จริงของคุณเอง

1. การฟังเสียงหัวใจตัวเอง

หัวใจหลักของกระบวนการทางความคิดแบบนี้ก็คือ ความเข้าใจ เพราะมันคือก้าวแรกที่จะช่วยให้เราเห็นถึงต้นเหตุของปัญหา เช่นเดียวกับตัวเราเอง ที่เราควรเข้าใจตัวเราเองให้ได้ก่อน ฟังเสียงของตัวเองโดยไม่วิจารณ์ ไม่ดูถูกตัวเอง และไม่สนใจความเห็นของคนอื่น แล้วเราจึงจะพบคำตอบว่า สิ่งที่เราต้องการจริงๆ นั้นคืออะไร?

2. การตั้งคำถามกับตัวเอง

คนเรามักจะรู้อยู่แล้วว่าสิ่งที่ตัวเองต้องการคืออะไร แต่ไม่รู้วิธีหรือหนทางที่จะช่วยให้ความฝันกลายเป็นความจริง จริงๆแล้วบทสรุปหรือคำตอบที่เราคิดว่าใช่ มันอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีก็ได้ เช่น อยากได้งานใหม่ หรืออยากได้รับการเลื่อนตำแหน่ง สิ่งเหล่านี้ เรารู้ว่ามันคือจุดมุ่งหมายของเรา แต่เรามักจะพบว่า การที่จะทำให้เราบรรลุเป้าหมายได้นั้น มันช่างยากเหลือเกิน แทนที่จะมานั่งคิดแบบวิธีเดิมๆ เราควรมาลองคิดหาสาเหตุด้วยวิธีการตั้งคำถามกันดีกว่าว่า ทำไมเราถึงอยากเปลี่ยนงานล่ะ ทำไมเราถึงอยากเลื่อนตำแหน่ง สิ่งที่เราต้องการจริงๆ คืออะไรกันแน่ ซึ่งบางทีอาจจะพบว่าจริงๆ แล้วเราไม่ได้อยากเปลี่ยนงาน แต่แค่ต้องการเวลาเพิ่มขึ้นเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับงานที่ทำอยู่ หรือเราแค่ยังไม่พบความมั่นคงในสายงานที่ทำอยู่ ซึ่งการเปลี่ยนงานก็อาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดก็ได้ ดังนั้น การพยายามตั้งคำถามกับตัวเองก็เหมือนกับเปลือกของหัวหอม ที่เราต้องค่อยๆ ปลอกมันทีละชั้นๆ จนเจอแกนกลางหรือสิ่งที่เราต้องการจริงๆ ซึ่งเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องที่สุดนั่นเอง

3. ทำเลย…ไม่ต้องลอง!

ความมั่นใจ
ถึงแม้ว่าหลายต่อหลายคนจะประสบความสำเร็จจากความเพียรพยายาม แต่บางครั้งความเพียรพยายามนั้นก็อาจจะทำให้เราเสียเวลาและเสียแรงเปล่าจากการมัวแต่ลองทำ ลองจินตนาการว่าคุณอยู่บนเครื่องบิน สะพายร่มชูชีพพร้อมที่จะโดดลงมาทุกเมื่อ ใจคุณอยากลองกระโดดร่มมาก แต่คุณก็ไม่ยอมโดดลงมาสักที ต่อให้คุณจะใช้เวลานานเป็นปีๆ เสียเวลานานเท่าไหร่ หรือศึกษาวิธีการโดดร่มจนทะลุปรุโปร่งอย่างไร คุณก็จะไม่มีวันกระโดดร่มเป็น หากคุณไม่ยอมจริงจังและตัดสินใจกระโดดลงมา เช่นกันกับชีวิต หากคุณมัวแต่ลองไปเรื่อยๆ แต่ไม่ลงมือทำอย่างจริงจังเลยสักอย่าง คุณก็จะไม่มีวันทำมันสำเร็จ

Source : Success

ไม่มีความคิดเห็น: