หากคุณเป็นคนโลเล การตัดสินใจในเรื่องที่เร่งด่วน หรือเรื่องสำคัญๆ จะกลายเป็นเรื่องยากไปในทันที และเมื่อคุณตัดสินใจไปแล้ว มันกลับยังไม่จบแค่นั้น เพราะคุณจะเริ่มคิดอยู่ในหัวว่า เราตัดสินใจแบบนี้ มันถูกต้องไหมนะ เอ๊ะ! หรือเราจะเลือกผิด หรือว่าถูกแล้วกันแน่ แล้วคุณก็เริ่มสับสนมากขึ้น เริ่มฟุ้งซ่าน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้คุณตัดสินใจในทันทีไม่ได้ และขาดความมั่นใจในตัวเอง เพราะฉะนั้น เลิก! เลิกคิดมากซะ!
ลองทำตามเคล็ดลับจาก Young Entrepreneur Council (YEC) ทั้ง 9 ข้อนี้ ที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างมั่นใจดูสิ!
1. อย่ามัวแต่คิดจนไม่ลงมือทำ
สภาวะความคิดเป็นอัมพาต หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโรคคิดมาก เป็นอาการที่คนเราคิดแต่เรื่องเดิมซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งนักธุรกิจหลายคนมักมีปัญหากับโรคนี้ คุณไม่ควรเสียเวลาทั้งหมดไปกับการคิดทุกรายละเอียดยิบย่อยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง รวมทั้งกังวลกับสิ่งเล็กๆ
2. ตั้งเวลาให้กับตัวเอง
หลายคนมักจะบอกให้เรารีบตัดสินใจในเรื่องที่เราคิดมากจนนอนไม่หลับ แต่สำหรับผม ผมจะให้เวลาตัวเองอย่างมากที่สุด 2 ชั่วโมง ในการตัดสินใจเรื่องงานต่างๆ ซึ่งการกำหนดเวลาให้ตัวเองมันช่วยให้ฉันมีเวลาในการคิดวิเคราะห์ถึงข้อดี ข้อเสีย และทบทวนสิ่งต่างๆ รวมทั้งปรึกษาคนอื่นก่อนที่จะตัดสินใจ
3. คิดแบบวิธี “Lean startup”
การตัดสินใจในทันทีทันใด บางครั้งก็ดีกว่าการตัดสินใจที่ยอดเยี่ยม…แต่ช้า ซึ่งอย่างไรก็ตาม ก็ควรคำนึงถึงผลลัพธ์ที่จะตามมาหากคุณตัดสินใจพลาด ถ้าหากเป็นเรื่องง่ายที่เราแก้ไขภายหลังได้ ก็ตัดสินใจไปเลย และพยายามหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจเข้าไว้ ซึงก็คล้ายกับวิธีคิด แบบ lean startup คือค่อยๆ ลอง ค่อยๆ เรียนรู้สิ่งที่ตนมี แล้วปรับปรุงพัฒนาต่อไป
4. ใช้ทฤษฎี 10-10-10
ลองถามตัวเองดูว่า คุณจะยังรู้สึกพอใจกับการตัดสินใจของคุณในอีก 10 นาทีข้างหน้าไหม? หรือในอีก 10 เดือนข้างหน้า หรือในอีก 10 ปีข้างหน้า วิธีนี้จะทำให้คุณได้เห็นผลลัพธ์ที่จะตามมาหลังจากที่คุณตัดสินใจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งข้อดีที่จะเกิดขึ้น แล้วคุณจะพบว่า ยิ่งคุณใช้วิธีนี้ คุณก็ยิ่งมั่นใจในการตัดสินใจของคุณเองมากขึ้น
5. บันทึกมันลงไป
ทุกครั้งที่ผมสับสน แม่ผมมักจะถามว่า ลูกได้จดมันเอาไว้ไหม? การจดบันทึกจะช่วยทำให้คุณเห็นอะไรได้ชัดเจนขึ้น รวมทั้งช่วยให้คุณไม่มองข้ามวิธีแก้ปัญหาต่างๆ และเมื่อคุณบันทึกปัญหาต่างๆ ลงไปแล้ว ก็ลองโทรปรึกษาเพื่อนร่วมงานที่คุณไว้ใจสักคน คุณอาจจะพบคำตอบก็ได้
6. ลิสต์ทั้งข้อดีและข้อเสีย
การบันทึกข้อดีและข้อเสียของสิ่งที่ตัดสินใจเอาไว้ มันช่วยให้ฉันเห็นภาพ และนำข้อมูลมาเทียบสถิติได้ และยิ่งผลการตัดสินใจมันเกี่ยวเนื่องกับสิ่งที่ต้องทำ มันก็ยิ่งช่วยให้ผมเห็นภาพความเป็นไปได้ชัดเจนมากขึ้น
7. เรียนรู้จากอดีต
ลองมองย้อนเหตุการณ์ในอดีตที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ลองเรียนรู้จากเพื่อนของคุณที่เคยประสบมา จากนั้นลองคิดว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นหากคุณเลือกตัดสินใจแบบนั้น
8. โทรปรึกษาเพื่อน
การตัดสินใจเป็นเรื่องง่าย สิ่งที่ทำให้นักธุรกิจแตกต่างกันคือความตั้งใจ เวลาที่ผมเริ่มคิดมาก ผมจะโทรหาน้องเขยผมผู้เป็นศัลยแพทย์และแทบจะไม่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจเลย แต่ด้วยไหวพริบของเขา เขามักจะมีเหตุผลดีๆ มาประกอบ ซึ่งทำให้ผมเห็นภาพได้ง่ายขึ้น
9. เชื่อมั่นในสัญชาตญาณของคุณ
สัญชาตญาณผมไม่เคยพลาดเลยซักครั้ง เวลาที่ผมต้องตัดสินใจอะไรในบริษัท ผมมักจะมั่นใจในการตัดสินใจของผม ความคิดมีความเกี่ยวเนื่องกับการทำงานของสมองในส่วนการใช้เหตุผล แต่บางครั้งก็มีส่วนของเรื่องอารมณ์และความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นหากความรู้สึกผมบอกว่าใช่ ผมก็จะเลือกหนทางนั้น
Source: Success
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น